ผลิตภัณฑ์บำรุงผม "OLOR'CHEE"



ผลิตภัณฑ์บำรุงผม OLOR'CHEE (ออลอร์ชี)


1. บทสรุปผู้บริหาร

    1.1     ธุรกิจและแนวคิดธุรกิจ

ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการบำรุงผมมากมาย  และมีสรรพคุณและคุณภาพที่แตกต่างกันออกมามากมายหลายแบรนด์ ทั้งผลิตภัณฑ์การบำรุงผมที่ติดตลาด และในโลกออนไลน์ทั่วไป จึงทำให้เกิดความหลายหลายในการเลือกซื้อ

     1.2     โอกาสและกลยุทธ์

แม้ว่าในปัจจุบันจะมีผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ดูแลผมมากมาย  เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดคู่แข่งขันขึ้น ธุรกิจเราจึงสร้างความแตกต่างโดยการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วได้ผลจริงตั้งแต่แรกใช้ และมีส่วนผสมสารสกัดที่ทรงคุณค่าจากธรรมชาติ และพิเศษด้วยความมีกลิ่นที่หอมแตกต่างจากในท้องตลาดทั่วไป

     1.3     ความได้เปรียบเชิงแข่งขันของธุรกิจ

      1)  บริษัทมีความสามารถในการหาส่วนผสมที่ทรงคุณค่า และมีคุณภาพ สามารถดูแลเส้นผมให้ลื่น สวยเงางามได้จริงตั้งแต่แรกใช้ และมีกลิ่นที่หอม
      2)  มีความตกต่างจากคู่แข่งขันในตลาด ด้วยความแตกต่างของตัวผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะรูปทรงผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้แตกต่างจากทางท้องตลาดทั่วไป


      3) มีสถานที่จัดจำหน่ายสินค้าเป็นลักษณะธุรกิจออกไลน์ที่กระจายสินค้า ด้วยตัวแทนจำหน่ายที่ครอบคลุม และตามห้างร้านสรรพสินค้าทั่วไป


        2.  ประวัติความเป็นมาของกิจการ ผลิตภัณฑ์  OLOR'CHEE

             ผลิตภัณฑ์ OLOR'CHEE
เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งแชมพูและทรีนเม้นและยังมีเซรั่มน้ำหอมใส่ผม ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะแก่ลูกค้าที่สนใจในการบำรุงรักษาเส้นผมซึ้งตอบโจทย์ลูกค้าได้ดี  ซึ้งช่วยบำรุงเส้นผม กลับมาให้ผมมีสุขภาพดีและยังหอมติดนาน และยังมีหลายสูตรให้เลือก
กิจการของ ผลิตภัณฑ์ OLORCHEE เราได้สร้างเพจในเฟสบุ๊ค มาเป็นหน้าร้านในการจัดจำหน่วยสินค้า ซึ่งสะดวกมะต้องไปเช่าร้าน ซึ่งลดต้นทุนในกิจการได้ได้อีกด้วย และยังสะดวกต่อลูกค้า และลูกค้าสอบถามรายละเอียดในอินบ้อกได้ซื้อขายได้ง่าย และวิธีการจัดส่งที่สะดวก เช่น นัดรับของ หรือส่งทาง ไปรษณีย์ และสินค้าของเราจะออเดอร์มาจากอิดตาลี่ ซึ่งลูกค้าก็สามารถพรีออเดอร์มาก่อนหรือถ้าทางเรามีของสต๊อกก็สามารถส่งสินค้าให้ลูกค้าได้เลย


3      3.  การวิเคราะห์สถานะการณ์

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคมากขึ้น  จึงเป็นเหตุผลสำคัญ    ที่ทำให้ตลาดผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมในประเทศไทยยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องทุกปี  จากปัจจัยหมุนคือเกณฑ์อายุของคนไทยที่เริ่มใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมตั้งแต่อายุยังน้อย  ส่งผลให้ผู้ประกอบการปรับผลิตภัณฑ์  ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าได้รับความคุ้มค้ามากขึ้น  กล่าวคือผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมที่ให้ประโยชน์พิเศษหรือผลพิเศษมากขึ้น  เช่น  ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมได้อย่างล้ำลึกมีกลิ่นหอม  หรือบำรุงเส้นผมแห้งแตกปลายชี้ฟูให้เรียบสวยเป็นธรรมชาติ  รวมทั้งสินค้าผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมที่เป็นเซรั่มและอาหารผม  ซึ่งได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง 
             4. วัตถุประสงค์  เป้าหมายทางธุรกิจ และกลยุทธิ์ธุรกิจ
4.1     วัตถุประสงค์
ครีมบำรุงเส้นผมของเราสามารถให้ช่วยให้เส้นผมของคุณที่เคยทำเคมีมาแล้วเสีย ฝืนฟูกลับมามีชีวิตชีวา สภาพดีอีกครั้ง หรือสำหรับสาวที่ชอบทำสารเคมีกลับเส้นผมของสาว แชมพูบำรุงเส้นผมของเราช่วยคุณได้โดยคุณไม่ต้องกลัวผมเสียอีกต่อไป
4.2     เป้าหมายธุรกิจ
กลุ่มเป้าหมายของธุรกิจบำรุงเส้นผม ใช้ทุกเพศ ทุกวัยหรือกลุ่มคนที่รักและชอบดูแลเส้นผมของคุณเอง ที่สามารถมีอำนาจตัดสินใจได้ อายุประมาณ 20 ปีขึ้นไป มีรายได้ 8,000 บาทขึ้นไป เพราะสินค้าของเรามีราคาไม่แพงมาก และสามารถทำให้ผมของคุณดูดีดุจเส้นไหม
4.3     กลยุทธ์ธุรกิจ
กลยุทธของเราเป็นกลยุทธแบบสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง เป็นสินค้าที่มีความบำรุงล้ำลึก รวดเร็ว มีกลิ่นหอมมากกว่าสินค้าแบรนด์อื่น มีภาพลักษณ์และลักษณะของขวดที่มีความแข็งกว่าสินค้าแบรนด์อื่น เพื่อให้มีประสิทธิ์ภาพจวดที่บรรจุไม่แตกง่าย และสามารถเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผลของคุณตั้งแต่ขวดแรกที่ใช้มีสภาพดีอย่างเห็นได้ชัด
        5. แผนการจัดการบุคลากร
       การจัดการในองค์การมักมุ่งไปที่หน้าที่ต่างๆในขบวนการจัดการ 4 ประการ (การวางแผน การจัด          
องค์การ การโน้มนํา และการควบคุม) ดังที่กล่าวข้างต้น ซึ่งผู้บริหารแต่ละคนให้ความสําคัญและเวลาในการ
ทําหน้าที่การจัดการเหล่านี้ แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังขึ้นกับลักษณะการดําเนินงานขององค์การที่แตกต่างกัน
ด้วย (เช่น มีลักษณะการดําเนินงานเป็นองค์การที่แสวงหากําไรหรือองค์การที่ไม่แสวงหากํา ไร) ระดับของผู้
บริหารที่ต่างกัน (ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง) และขนาดขององค์การที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารที่อยู่
ในระดับบริหารที่แตกต่างกันจะให้เวลาในการทํากิจกรรมของแต่ ละหน้าที่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาถึง
กิจกรรมของผู้บริหารในองค์การแล้ว Mintzberg เห็นว่าบทบาทของ การจัดการสามารถจัดแบ่งได้เป็น 3 
กลุ่ม หรือที่เรียกว่า บทบาทด้านการจัดการของ Mintzberg (Mintzberg’s managerial roles) ได้แก่ บทบาท
ด้านระหว่างบุคคล (interpersonal roles) บทบาทด้านข้อมูล (informational roles) และบทบาทด้านการตัดสิน
ใจ (Decisional roles) โดยแต่ละกลุ่มของบทบาทมีบทบาทย่อยดังต่อไปนี้
               บทบาทระหว่างบุคคล (Interpersonal roles) เป็นบทบาทด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 
ประกอบด้วย บทบาทย่อย ได้แก่
1)   บทบาทตามตําแหน่ง (figurehead): ทําหน้าที่ประจําวันต่างๆตามระเบียบที่เกี่ยวกับกฎหมาย หรือตามที่สังคมกําหนด เช่น การต้อนรับแขกขององค์กร ลงนามในเอกสารตามกฎหมาย เป็นต้น
2)  บทบาทผู้นํา (leader): ต้องรับผิดชอบสร้างแรงจูงใจและกระตุนการทํางานของพนักงาน รับผิดชอบในการจัดหาคน ฝึกอบรม และงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
3)    บทบาทการสร้างสัมพันธภาพ (liaison): โดยสร้างเครือข่ายภายในและภายนอกเพื่อการ กระจายข้อมูลให้ทั่วถึง

บทบาทด้านข้อมูล (informational roles) เป็นบทบาทด้านการกระจายและส่งผ่านข้อมูล ประกอบด้วย บทบาทย่อย ดังนี้
4) เป็นผู้ติดตามประเมินผล (monitor): เป็นการติดตามเลือกรับข้อมูล (ซึ่งมักจะเป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน) เพื่อเข้าใจความเคลื่อนไหวขององค์การและสิ่งแวดล้อม เป็นเสมือนศูนย์กลางของ ระบบ
5) เป็นผู้กระจายข้อมูล (disseminator): รับบทบาทส่งผ่านข้อมูลไปยังพนักงานในองค์การ บางข้อมูลก็เกี่ยวกับข้อเท็จจริง บางข้อมูลเกี่ยวกับการแปลผลและรวบรวมความแตกต่างกันที่เกิดขึ้นในองค์การ
6) เป็นโฆษก (spokesperson): ทําหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานภายนอก เกี่ยวกับ แผนงาน นโยบาย กิจกรรม และผลงานขององค์การ เช่น เป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม

บทบาทด้านการตัดสินใจ (decisional roles) ทําหน้าที่ตัดสินใจในการดําเนินงานขององค์การ ประกอบด้วยบทบาทย่อย ดังนี้

7)  เป็นผู้ประกอบการ (entrepreneur): หาโอกาสและริเริ่มสิ่งใหม่ๆ เช่น การปรับปรุงโครงการ เพื่อนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ให้คำแนะนําเกี่ยวกับการออกแบบโครงการ โดยการจัดให้มีการทบทวนและกําหนดกลยุทธ์เพื่อพัฒนาโปรแกรมใหม่ๆ
8) เป็นผู้จัดการความสงบเรียบร้อย (disturbance hander): รับผิดชอบแก้ไขการดําเนินงานเมื่อองค์การเผชิญกับความไม่สงบเรียบร้อย โดยการทบทวนและกําหนดกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับความไม่สงบและวิกฤติการณ์ใน องค์การ
9)  เป็นผู้จัดสรรทรัพยากร (resource allocator): เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดสรรทรัพยากรต่างๆในองค์การ เช่น ทําการตัดสินใจและอนุมัติในประเด็นที่สําคัญต่างๆขององค์การ โดยจัดลําดับ และกระจายอํานาจ ดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องงบประมาณ และจัดการเกี่ยวกับการทํางานของพนักงาน
10) เป็นผู้ต่อรอง (negotiator): รับผิดชอบในการเป็นตัวแทนต่อรองในเรื่องสําคัญขององค์การ เช่น มีส่วนร่วมในการทําสัญญากับสหภาพแรงงานขององค์การ หรือการต่อรองกับผู้จัดหา (suppliers)


        6. แผนการตลาด
  วิเคราะห์ SWOT 
(วิเคราะห์จุดแข็ง/ จุดอ่อน)
S-Strength (จุดแข็ง)
1) ผลิตภัณฑ์มีส่วนผสมหลักจากธรรมชาติ ทั้งช่วยบำรุง และแก้ปัญหาหนังศรีษะ
2) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วเห็นผลตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้
3)กลิ่นหอมมาก  ติดผม ทนนาน
4) การขนส่งสินค้ารวดเร็ว
5) บริษัทมีการติดตามลูกค้าหลังซื้อ/ ใช้ผลิตภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอ
6) การตอบสนองในการแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มลูกค้ารวดเร็ว

Weakness (จุดอ่อน)
1) ราคาสูง
2) การส่งเสริมการขายยังน้อย
3) สต็อกสินค้าน้อยเกินไป

Opportunity (โอกาส)
1) กลุ่มคนที่สนใจผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม และมีปัญหาเส้นผมมีจำนวนมาก
2) กลุ่มเป้าหมายในเขตภาคตะวันออกมีกำลังซื้อมาก
3) จำนวนผู้ใช้สื่อSocial Media มากขึ้นเรื่อย โดยเฉพาะ Facebook 
มีผู้ใช้ทั้งประเทศคิดเป็น 62% จากจำนวนประชากรทั้งประเทศ 
ซึ่งบริษัทเรามีทั้ง Website และ Facebook Page เป็นช่องทางหลัก
4) หลายคนมักให้ความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าจากต่างประเทศ

Threat (อุปสรรค)
1) กลุ่มเป้าหมายบางส่วนยังติดการใช้แบรนด์เดิม  ไม่กล้าเปลี่ยนยี่ห้อ


STP : การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแบ่งส่วนตลาด
 S-Segmentation การแบ่งส่วนตลาด
·    ตามหลักภูมิศาสตร์(Geographic Segmentation):
o   กลุ่มหลักคือ เขตจังหวัดระยอง  และจันทบุรี เนื่องจากมีกำลังการซื้อสูง และการขนส่งที่ใกล้คลังสต็อกสินค้า
o   กลุ่มรองคือ จังหวัดอื่นๆ ที่เหลือในเขตภูมิภาคตะวันออก
·    พฤติกรรมศาสตร์(Behavioristic Segmentation):
o   ลูกค้ากลุ่มหลัก คือ
กลุ่มผู้หญิง ที่ต้องการซื้อใช้เอง และต้องการบำรุงเส้นผม 
ทั้งกลุ่มผู้มีปัญหาผมเสีย จากการการทำเคมี และต้องการบำรุงทั่วไป
o   แหล่งจัดหา คือ
Facebook Page: OLOR’CHEE ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมเกรดพรีเมียม
o   ซื้อเมื่อไหร่ คือ
เมื่อมีปัญหาเส้นผม ต้องการการบำรุงเร่งด่วน
o   ซื้ออย่างไร คือ
พรีออเดอร์ (สั่งจองสินค้า/ ชำระเงินล่วงหน้า)
o   ความถี่ในการซื้อ คือ 
1-2 เดือนครั้ง
o   ความภักดีต่อตรายี่ห้อ
ลูกค้ากลุ่มนี้จะไม่เน้นความจงลักษณ์ภักดีในตราสินค้า 
ขอแค่เพียงตอบโจทย์ปัญหาเส้นผมลูกค้าขณะนั้น หากมีการนำเสนอที่น่าสนใจ ก็สามารถจูงใจลูกค้ากลุ่มนี้ได้

T-Targeting การกำหนดกลุ่มตลาดเป้าหมาย:
·    ประเมินสถานการณ์ตลาดภาพรวม
o   ตลาดภายในเขตจังหวัดระยอง และจันทุบุรี ยังมีโอกาสขยายตลาดได้อีกมาก 
เนื่องผลิตภํณฑ์ตามตลาดทั่วไป ยังไม่ตอบโจทย์ลูกค้าเท่าที่ควร 
โดยเฉพาะช่วงระยะเวลาเห็นผลที่รวดเร็ว และกลิ่นที่หอมติดทน
o   ตลาดจังหวัดอื่นๆ ในเขตภูมิภาคตะวันออก ยังต้องใช้เวลาในการเปิดตลาดให้เป็นที่รู้จัก
o   การเข้าตลาดมีความเป็นไปได้สูง เพราหากลูกค้าได้ใช้ครั้งแรก จะมีโอกาสกลับมาซื้อซ้ำสูงมา
o   จำนวนคู่แข่งในสถานะเดียวกันยังมีหลายรายก็จริง แต่ก็ยังไม่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเท่าที่ควร
·    ตลาดเป้าหมาย
กลยุทธ์การครอบคลุม ตลาดด้วยการดำเนินการตลาดมุ่งเฉพาะส่วน (Concentrated marketing)
เป็นการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดเล็กๆ ที่อยู่ในตลาดใหญ่โดยค่อยๆ ช่วงชิงมาเพียงหนึ่งส่วนตลาด

P-Position การวางตำแหน่งของสินค้า:
บำรุงล้ำลึก แก้ปัญหาผมเสีย กลิ่นติดทนนาน และเห็นผลตั้งแต่ใช้ครั้งแรก


Marketing Mix : กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด 6P

Product (ด้านผลิภัณฑ์)

เป็นผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม มีกลิ่นหอมติดทนนานมากกว่าผลิตภัณฑ์ตามท้องตลาดทั่วไป 
ช่วยฟื้นฟูสภาพเส้นผมที่แห้งเสียให้นุ่มลื่นแลดูมีชีวิตชีวา
Price (ด้านราคา)
เป็นราคาที่เหมาะสมลูกค้าจะยอมจ่ายเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ของเรา
เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเหมาะสมกับราคา และเป็นผลิตภัณฑ์ที่คู่แข่งไม่สามารถลอกเลียนแบบได้
Place (ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย)
ร้านค้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ทั้งจำหน่ายหน้าร้านและสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ
Promotion (ด้านการส่งเสริมการขาย)
เมื่อลูกค้ากดไลค์กดแชร์ตามกติกาที่กำหนด จะได้ส่วนลด 5 % จากราคาของผลิตภัณฑ์
Personalization (ด้านการใช้บุคคลในการขาย)
ทางบริษัทจะมีการจัดก็บข้อมูลความพึงพอใจของลูกค้าเป็นรายบุคคลเพื่อ
นำมาปรับปรุงแก้ไขและมีบริการส่งการ์ดอวยพรเนื่องในโอกาสต่างๆให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ
Privacy (ด้านการรักษาความเป็นส่วนตัวของลูกค้า)
1) ทางบริษัทจะไม่มีการนำข้อมูลของลูกค้าไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาติ โดยที่ทางเราจะระบุ
นโยบาย Privacy Policy อย่างชัดเจนบนเว็บไซต์และทำตามกฏอย่างเคร่งครัด
2) รวมทั้งมีการกำหนดการเข้าโดยใช้ Username Password 
แสดงตัวตนของลูกค้า เพื่อป้องกันบุคคลอื่นเข้าใช้งานหน้าเวบไซต์



       

        7. แผนการผลิต/ ปฏิบัติการ
         สินค้าของเราเป็นการสั่งซื้อมาเก็บไว้ดังนั้นเราจึงต้องวางแผนสต็อกสินค้าให้ตรงกับปริมาณการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าว่าสินค้าชนิดใดมีการสั่งซื้อมากที่สุดและสินค้าชนิดใดมีการสั่งซื้อน้อยดังนั้นเราจะต้องมีการวางแผนในการสต็อกสินค้าหรือเช็คความต้องการของลูกค้าอยู่ตลอดเวลาเพราะหากเราไม่ได้มีการวางแผนอาจจะทำให้ระบบการขายของเรามีปัญหาและเสียเวลาและโอกาสในการขายสินค้าได้โดยทางเราจะมีการตัดสต็อกสินค้าอาทิตย์ละครั้งเพื่อจะได้มีการสต็อกสินค้าไว้ได้ถูกต้องและเพื่อความรวดเร็วในการส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้

ตัวอย่างสต็อกสินค้า 1 สัปดาห์
รายการ Stock สินค้า

วันที่

OLOR’CHEE
จำนวสินค้า
(ชิ้น)
จำนวนสินค้าออก
(ชิ้น)
ยอดรวม (ชิ้น)
1/05/60
แชมพูสูตร สูตร สำหรับผมแห้งเสีย
15
2
13
แชมพูสูตร สูตร ขจัดรังแค
15
5
10
แชมพูสูตร สูตร ขจัดความมัน
15
3
12
ครีมนวดผม 
20
10
10
เซรั่มน้ำหอมผม
20
5
15
ทรีทเม้นท์สูตร ซ่อมแซมผมเสียล้ำลึก
15
4
11
ทรีทเม้นท์สูตร บำรุงผมสภาพทั่วไป/ ผมเสียปานกลาง
15
3
12


8. แผนการดำเนินงาน/ แผนปฏิบัติการ
    8.1. วิเคราะห์ทางการตลาด
           1) วิเคราะห์ SWOT สถานการณ์ภายใน และภายนอกองค์กร
           2) วิเคราะห์ STP การแบ่งส่วนการตลาด
           3) วิเคราะห์ 6 P's ส่วนประสมทางการตลาด
    8.2. จัดทำแผนทางธุรกิจดังนี้
           1) แผนการตลาด       
           2) แผนการจัดการบุคลากร  
           3) แผนการผลิต  
           4) แผนการเงิน    
           5) แผนการดำเนินงาน
   8.2  เริ่มดำเนินธุรกิจ
           1) กำหนดนโยบาย
           2) แผนการดำเนินงาน
          3) ผู้รับผิดชอบ
          4) ดำเนินการตามแผนงาน
          5) ติดตามและประเมินผลการดำเนินธุรกิจ
  



9. แผนฉุกเฉิน
     9.1. กรณีส่งสินค้า ผิด: 
            แนวทางการแก้ไขปัญหาคือ 
            1) กำหนดช่องทางการรับข้อมูล หรือข้อร้องเรียนต่างๆ ผ่าน Inbox ของ Facebook Page
            2) กำหนดผู้ดูแลเพจ เพื่อตอบข้อซักถามลูกค้า
            3) หากส่งสินค้าผิด จะรับเปลี่ยนสินค้า โดยบริษัทรับภาระค่าขนส่งจากการส่งคืนสินค้า
            4) ติดตามจนกว่าสินค้าจะถึงมือลูกค้า ตรงตามที่สั่งซื้อ
       
     9.2. กรณีที่ลูกค้าแพ้:
            แนวทางการแก้ไขปัญหา  คือ
            1) กำหนดช่องทางการรับข้อมูล หรือข้อร้องเรียนต่างๆ ผ่าน Inbox ของ Facebook Page
            2) กำหนดผู้ดูแลเพจ เพื่อตอบข้อซักถามลูกค้า
            3) รับซื้อสินค้าคืน ตามสัดส่วนการใช้ของลูกค้า พร้อมหลักฐานอาการแพ้ เช่น รูปถ่าย  
                ใบรับรองแพทย์เป็นต้น เพื่อป้องกันบุคคลแอบอ้าง
            4) บริษัทรับภาระค่าขนส่งจากการส่งคืนสินค้า
  









สมาชิกภายในกลุ่ม หน้ากากทุเรียน

1. น.ส. ชนันธร  สุขโต  รหัส 58410135 


2. น.ส.ฐิดารัตน์ สุขแจ่ม  รหัส   58410142


3. น.ส.ศศิประภา  ซุ่นไล้  รหัส  58410217

4. น.ส.ณัฐชยา  สินธุบัว  รหัส  58411678

5. น.ส.สุภารัตน์  สุริยวงค์ รหัส 58411781

6. น.ส.กนกวรรณ  ศิริมาลย์  รหัส  58411205

7. น.ส.นิศาชล ริมสมุทร์  รหัส  58410882

8. น.ส.ภัสราภรณ์  คงสอน  รหัส 58411027

9. น.ส.พิชญาภา ธิเบศร์ณรงค์  รหัส  58411349









ความคิดเห็น